เมนู

อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีข้าวแพง ข้าวเสียหาย มีบิณฑบาตหาได้ยาก
ไม่สะดวกที่จะยังอัตภาพให้เป็นไปได้ด้วยการแสวงหาบิณฑบาต นี้เป็นสมัยที่
ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ 3
อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีภัย มีความกำเริบในป่าดง ชาวชนบทพากัน
ขึ้นยานพาหนะอพยพไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ 4
อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์แตกกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์
แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน มีการใส่ร้ายกัน
และกัน มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้นย่อมไม่เลื่อมใส
และคนบางพวกที่เลื่อมใสย่อมเป็นอย่างอื่นไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร
ข้อที่ 5 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร 5 ประการนี้แล.

ว่าด้วยสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร 5


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบ
ด้วยความเป็นหนุ่ม ตั้งอยู่ในปฐมวัย นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ 1
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบ
ด้วยไฟธาตุที่เผาอาหารให้ย่อยสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง
ควรแก่การบำเพ็ญเพียร นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ 2
อีกประการหนึ่ง สมัยที่ข้าวถูก ข้าวดี มีบิณฑบาตหาได้ง่าย สะดวก
ที่จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหาบิณฑบาต นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญ
เพียรข้อที่ 3
อีกประการหนึ่ง สมัยที่พวกมนุษย์พร้อมเพรียงกัน [สามัคคีกัน]
ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วยจักษุ
ที่ประกอบด้วยความรัก นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ 4

อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน
มีอุเทศร่วมกัน ย่อมอยู่เป็นผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์สมัครสมาน
กันย่อมไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการใส่ร้ายกันและกัน
ไม่มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้น ย่อมเลื่อมใส และ
คนที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ 5
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร 5 ประการนี้แล
จบสมยสูตรที่ 4

อรรถกถาสมยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสมยสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปธานาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การกระทำความเพียร. บทว่า
น สุกรํ อุญฺเฉน ปคฺคเหน ยาเปตุํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถที่
จะยังชีพอยู่ได้ ด้วยการอุ้มบาตรไปเที่ยวขอมา. ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถาสมยสูตรที่ 4